รายงานขององค์การต่าง ๆ ของ การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์_พ.ศ._2553

บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม โปรดอภิปรายปัญหาดังกล่าวในหน้าอภิปราย หากบทความนี้เข้ากันได้กับโครงการพี่น้อง โปรดทำการแจ้งย้ายแทน

กรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ตรวจสอบเหตุการณ์ชุมนุมของนปช. และการสลายม็อบระหว่างวันที่ 12 มีนาคม–19 พฤษภาคม 2553 ใน 9 กรณี[ต้องการอ้างอิง]

กรณีที่ 1 การสั่งการของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ การปฏิบัติหน้าที่และผู้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่มีผลสืบเนื่องมาจาก นปช.ปลุกระดมมวลชนชุมนุมเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ยุบสภาหรือลาออก บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมเป็นต้นมา

กสม.สอบพยานบุคคลเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 28 รายนปช. 54 ราย ผู้ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมแต่อยู่ในเหตุการณ์ 26 ราย รวมทั้งพยานเอกสาร เช่น ข้อเท็จจริงจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้ข้อสรุปว่า ผู้ชุมนุมกระทำเกินกว่าการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และแม้การชุมนุมเป็นไปโดยสงบ แต่ในวันที่ 10 เมษายน การที่รัฐบาลขอคืนพื้นที่ ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากลุ่ม นปช.ต่อต้านและขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ ทั้งยังมีกลุ่มชายชุดดำติดอาวุธปะปนอยู่กับผู้ชุมนุมถือว่าเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนที่มีอาวุธและมีลักษณะเป็นกระบวนการที่พร้อมใช้อาวุธและความรุนแรงได้ตลอดเวลา ดังนั้น การชุมนุมดังกล่าวจึงมิใช่การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

กสม.ยังระบุอีกว่า ในส่วนของรัฐบาล การขอคืนพื้นที่เมื่อวันที่ 10 เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนทั่วไป รัฐบาลทำไปตามมาตรการที่ได้ประกาศไว้ก่อนจริง เป็นการกระทำจากเบาไปหาหนัก จึงเป็นการกระทำภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจไว้

กรณีที่ 2 เหตุการณ์กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากระเบิดเอ็ม 79 บริเวณแยกศาลาแดงเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553กสม.สอบถามจากพยานบุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุ21 คน และพยานเอกสาร สรุปว่าการชุมนุมของนปช.เป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ มีการใช้ความรุนแรง

กรณีที่ 3 เหตุการณ์กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2553 คณะกรรมการเห็นว่าทหารเสียชีวิตจากอาวุธปืนและประชาชน รวมถึงทหารจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ ถือว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนทั่วไปและทหารที่เสียชีวิต แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าฝ่ายใดเป็นผู้กระทำ

กรณีที่ 4 เหตุการณ์กรณีการชุมนุมของกลุ่มนปช.บริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทย และการบุกเข้าไปตรวจค้นโรงพยาบาลจุฬาฯเมื่อวันที่ 29 เมษายน เข้าข่ายบุกรุก และเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ ละเมิดสิทธิผู้อื่น ทำลายทรัพย์สินของโรงพยาบาล

กรณีที่ 5 เหตุการณ์กรณีการสั่งการของรัฐบาลการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมระหว่างวันที่ 13–19 พฤษภาคม รวมทั้งเหตุการณ์ต่อเนื่อง เช่น การเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และอาคารต่าง ๆกสม.สรุปว่า นปช.ชุมนุมไม่สงบและมีอาวุธปืน มีกลุ่มบุคคลติดอาวุธแฝงตัวอยู่ในกลุ่มม็อบ ส่งผลต่อความมั่นคงภายในประเทศส่วนมาตรการกระชับพื้นที่สี่แยกราชประสงค์และบริเวณโดยรอบตั้งแต่วันที่ 13-19 พฤษภาคม 2553 ตามประกาศของ ศอฉ.นั้น กสม.เห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งย่อมเป็นไปได้ว่ามาจากการกระทำของฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหาร รัฐบาลจึงมีหน้าที่รับผิดชอบเยียวยาผู้ที่เสียหาย และต้องสืบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ

กรณีที่ 6 การเสียชีวิต 6 ศพและการกระทำในรูปแบบอื่นๆ ในวัดปทุมวนารามระหว่างวันที่ 19–20 พฤษภาคมกสม.อ้างว่าการรวบรวมหลักฐานในชั้นนี้ ไม่มีพยานยืนยันว่าใคร ฝ่ายใดเป็นผู้ยิงทั้ง 6 ศพ และผู้เสียชีวิตบางรายได้ความว่าเป็นการเสียชีวิตนอกวัดบางศพไม่รู้ว่าเสียชีวิตบริเวณใด แต่ทั้งหมดได้ถูกเคลื่อนย้ายมาไว้ในวัดกรณีที่เกิดขึ้นรัฐบาลไม่อาจปฏิเสธการเยียวยาชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น และควรสืบสวนหาข้อเท็จจริงและหาผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม

กรณีที่ 7 เหตุการณ์กรณีนายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 และระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล ตลอดจนการระงับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสถานีวิทยุชุมชน กสม.เห็นว่านายกฯกระทำที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายและเป็นการจำเป็นเหมาะสมในสถานการณ์ความรุนแรงและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

กรณีที่ 8 เหตุการณ์กรณีชุมนุมและการเคลื่อนขบวนของกลุ่ม นปช.ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม–20 พฤษภาคม ทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมถึง นปช.เจาะเลือดของผู้ชุมนุมและนำไปเทที่พรรคประชาธิปัตย์และทำเนียบรัฐบาล นั้นถือว่าละเมิดสิทธิของผู้อื่น

กรณีที่ 9 การเสียชีวิตและบาดเจ็บของสื่อมวลชนเกิดขึ้นจากการยิงปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มบุคคลผู้ติดอาวุธแฝงในกลุ่มผู้ชุมนุม แม้ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้ใดเป็นผู้ยิง และกลุ่มที่ติดอาวุธแฝงเป็นใคร ดังนั้น รัฐบาลจึงมีหน้าที่เยียวยาช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ

ใกล้เคียง

การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553 การสละราชสมบัติ การสลายตัวกัมมันตรังสี การสลายของเม็ดเลือดแดง การสลับขั้วแม่เหล็กโลก การสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน พ.ศ. 2563 การสลายให้อนุภาคบีตา การสละตำแหน่งพระสันตะปาปา การสลายให้อนุภาคแอลฟา การสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

แหล่งที่มา

WikiPedia: การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์_พ.ศ._2553 http://www.brisbanetimes.com.au/world/16-dead-more... http://www.smh.com.au/world/Red-Shirts-on-rampage-... http://www.abc.net.au/news/stories/2010/05/19/2903... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/119852 http://www.bangkokpost.com/breakingnews/178232/arm... http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?... http://www.channelnewsasia.com/stories/afp_asiapac... http://edition.cnn.com/2010/WORLD/asiapcf/05/17/th... http://www.csmonitor.com/World/terrorism-security/...